วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

น้ำทิพย์ วิภาวิน (http://ninlawan15.blogsport.com)ได้กล่าวว่า สื่อหลายมิติเป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำมาเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว


วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา (http://ninlawan15.blogsport.com) กล่าวว่า สื่อหลายมิติเป็นกระบวนการขยายแนวคิดจาก hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน

กิดานันท์ มะลิทอง (http://ninlawan15.blogsport.com) กล่าวว่า สื่อหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย หรือพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อผู้รับสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม

พรพิมล (http://learners.in.th) กล่าวว่าสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปแบบบทเรียนหลายมิติขึ้นโดยการผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และเสียงต่าง ๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดยการสอนเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการ

ธีระ ชัยวรรณ์ (http://rsct.ac.th) กล่าวว่าสื่อหลายมิติ คือ เทคโนโลยีของการอ่าน และการเขียนที่ไม่เรียงลำดับเนื้อหาและนำเสนอในลักษณะข้อความภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว และมีการเชื่อมโยง

อ้างอิง
(http://rsct.ac.th/)
(http://learners.in.th/)
(http://ninlawan15.blogsport.com/)

สื่อประสม คืออะไร

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ( 2518 )ให้ความหมายว่า “ สื่อประสม เป็นการนำสื่อการสอนหลายอย่างมาสัมพันธ์กันเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ในลักษณะที่สื่อแต่ละชิ้นส่งเสริมสนับสนุนกันและกัน ”


อีริคสัน ( 1971 )  ได้แสดงความหมายว่า “ สื่อประสม หมายถึง การนำสิ่งหลายๆ อย่างมาใช้ร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์ มีคุณค่าและส่งเสริมซึ่งกันและกัน สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อเร้าความสนใจ ในขณะที่อีกอย่างหนึ่งใช้เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหา และอีกชนิดหนึ่งอาจใช้เพื่อก่อให้เกิดความสนใจที่ลึกซึ้ง และป้องกันการเข้าใจความหมายผิดๆ การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการจากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้ค้นพบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น

http://yupapornintreewon017.page.tl/ สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน ซึ่งสื่อรูปแบบต่าง ๆ ประกอบด้วยข้อความอักขระ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง เพื่อการศึกษาสนเทศที่นำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถรับรู้ได้หลากหลายแบบวิธี ซึ่งสื่อประสมก็เป็นการรวบรวมข้อมูลเนื้อหาเข้าด้วยกันเป็นไฟล์

http://www.sahavicha.com/  สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการพลิกหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ และเสียง

อ้างอิง
http://yupapornintreewon017.page.tl/
http://www.sahavicha.com/

สื่อการสอน คืออะไร

เปรื่อง กุมุท (2519 : 13) ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้เป็นอย่างดี


ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2523 : 112) ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ และทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อธิพร ศรียมก (2523: 64) ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง อะไรก็ได้ที่ทำให้กรเรียนการสอนเป็นไปอย่างน่าสนใจ สนุกตื่นเต้น และทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน

บราวน์ และคณะ (1973 : 2) ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน ได้แก่ อุปกรณ์ทั้งหลายที่ช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้ มีความหมายรวมถึง กิจกรรมต่างๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดงบทบาท ตลอดจนการสัมภาษณ์ เป็นต้น

http://learners.in.th ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้

http://reg.ksu.ac.th/ สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ

http://.ranunanetc3.multiplycontent.com/ สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

http://siripim.blogspot.com ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน

http://www.school.net.th  อัจฉรา วาทวัฒนศักดิ์  สื่อการสอน หมายถึง สิ่งซึ่งใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติให้แก่ผู้เรียน หรือทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ มนุษย์รู้จักนำเอาสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาให้เป็นสื่อการสอน ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา ด้วยความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ทำให้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ตลอดจนวิธีการแปลก ๆ ถูกนำมาใช้เป็นสื่อการสอนกันอย่างกว้างขวาง เช่น การใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษาทั้งในระบบวงจรปิด และในระบบทางไกล หรือการใช้ชุดการสอนเพื่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล

อ้างอิง
http://www.school.net.th/
http://siripim.blogspot.com/
http://.ranunanetc3.multiplycontent.com/
http://reg.ksu.ac.th/
http://learners.in.th/

เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเนอย่างไร

1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

          คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( CAI: Computer Assisted Instruction) อาจมีชื่อเรียกหลายอย่างได้แก่ Computer Assistant Instruction หรือ Computer-Aided Instruction หรือ Computer-Based Instruction และ Courseware เป็นต้น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการนำเสนอบทเรียนที่นำมาใช้ในการสอนเสริมการสอนในชั้นเรียน หรือสอนแทนครูผู้สอน และผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาแล้วในชั้นเรียน

2.ระบบมัลติมีเดีย
          ระบบมัลติมีเดีย หมายถึง การนำองค์ประกอบของสื่อชนิดต่างๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ตัวอักษร (Text) ภาพนิ่ง (Image) ภาพเคลื่อนไหวหรือแอนิเมชั่น (Animation) เสียง (Sound) และวิดีโอ (Video) โดยผ่านกระบวนการทางระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การนำเข้า (Input) การประมวล (Processing) การแสดงผลลัพธ์ (Output) และการจัดเก็บข้อมูล(Storage) ตามลำดับซึ่งระบบทั้งหมดจะถูกควบคุมผ่านทางเครื่องพีซี ด้วยการบริหารจัดการของซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งไว้

3. ระบบวิดีโอออนดีมานด์
           ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้

4. วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์
          วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)

5.อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค
          อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้

6. อินเทอร์เน็ต
          อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก

7.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
           E-mail เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมากที่สุด สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ อาจจะเป็นคนเดียว หรือกลุ่มคนโดยทั้งที่ผู้ส่งและผู้รับเป็นผู้ใช้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ทั่วโลก มีความสะดวก รวดเร็ว และสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับจะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้ และช่วยขจัด ปัญหาในเรื่องของเวลา และระยะทาง ผู้เรียนจะรู้สึกอิสระและกล้าแสดงออกมากกว่าปกติ ตลอดจนสามารถเข้าถึงผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้เป็นอย่างดี

8. e-Learning (Electronic learning)
           e-Learning คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนาตลอดเวลา ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี คำว่า E นั้นย่อมาจาก Electronic ส่วนคำว่า learning มีความหมายตรงตัวว่าการเรียนรู้ เมื่อนำมารวมกันหมายถึงการเรียนรู้โดยใช้ electronic หรือ internet เป็นสื่อ คำที่มีความหมายใกล้เคียงเช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนบนเว็บ (WBI = Web-based Instruction)

9. e-book
           e-book เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป

อ้างอิง
http://www.thaigoodview.com/
http://www.thaiall.com/
http://www.skn.ac.th/
http://forum.datatan.net/
http://sps.lpru.ac.th/

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร

http://www.bloggang.com กล่าวว่า คำว่า"เทคโนโลยีสารสนเทศ" หรือ"Information Technology" ตรงกับคำศัพท์ที่ว่า"Informatique" ซึ่งหมายถึง "การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่นๆ มาใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม" นอกจากนี้ยังมีความหมายที่ใกล้เคียงกันคือ"Telematioque" หมายถึง "การบูรณาการระหว่างคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร" และคำว่า "Burotique" หมายถึง สำนักงานอัตโนมัติ ดังนั้นเมื่อมีการนำคำศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งสองคำมาใช้แทนคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้คำว่า "Informatic" ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกันกับ"Informatique" แต่คำเหล่านี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ในสหรัฐอเมริการก็ได้มีการบัญญัติคำศัพท์ว่า "Teleputer" ขึ้นมาใช้แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน
             คำว่า "สารสนเทศ" หรือ "สารนิเทศ" ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Information" ซึ่งราชบัณฑิตยสถานบัญญัติให้ใช้คำศัพท์ทั้งสองคำแทนคำว่า Information ได้ในวงการคอมพิวเตอร์การสื่อสาร และวงการธุรกิจ ส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่าสารสนเทศมากกว่า
            "สารนิเทศ" มีความหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการเพื่อนำมาเผยแพร่และใช้งานทุกสาขาทุกด้าน ส่วนคำว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" (Imformation Technology:IT) เรียกสั้นๆว่า "ไอที" มีความหมายเน้นถึงขั้นตอนการดำเนินงานและการจัดการในกระบวนการสารสนเทศหรือสารนิเทศ ตั้งแต่การเสาะแสวงหาการวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ปประโยชน์

บีแฮน และ โฮลัมส์ ให้ความหมายไว้ว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง เทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์สามารถสร้างระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์อย่างมหาศาล ได้แก่ การใช้ทำเบียนข้อมูล การจัดเก็บ การประมวลผลการค้นคืน การส่งและรับสารสานเทศต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรสาร โทรคมนาคม และไมโครอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในระบบจัดเรียงเอกสาร เครื่องทำบัญชีอัตโนมัติ เป็นต้น"

มหาวิทยาลัยสุโยทัยธรรมาธิราช ให้ความหมายว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เมจากเทคโนโลยีเดิมที่ใข้ในการจัดเก็บ ประมวลผล แสดงผล และเผยแพร่สารสนเทศในรูปของข้อมูล ข้อความและเรื่อง โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม

ลูคัส จูเนียร์ (Lucas, JR 1997) เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภทที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อการประมวลผลการจัดเก็บ และการถ่ายทอดสารสนเทศ ในรูปของอิเล็กทรอส์นิกส์

ซอร์โคซีย์ (Zorkoczy 1984) เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การกระทำโดยอัตโนมัติเพื่อรวบรวม จัดเก็บประมวลผล จัดจำหน่าย และใช้สารสารเทศ โดยไม่จำกัดขอบเขตไว้ที่ฮาร์แวร์หรือซอฟต์แวร์ แต่เน้นความสำคัญไปที่มนุษย์ในฐานะที่เป็นผู้ใช้ผู้สร้าง ผู้ควบคุม และผู้แสวงหาผลประโยชน์จากเทคโนโลยี

สเปนเซอร์ (Spencer 1992) เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยี ที่เป็นการรวมกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับการสื่อสารด้วยความเร็ว เพื่อนำข้อมูลเสียงและภาพ มาประกอบกันเพื่อนำไปใช้ประโยชน์

วศิณ ธูประยูร (2537: 59) เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ในการประมวลผลสารสนเทศ ได้แก่ ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องประมวลผลคำ และเครื่องที่สามารถประมวลผลได้โดยอัตโนมัติอื่นๆ เครื่องสมองกลเหล่านี้ เป็นนวัตกรรมของมนุษย์ชาติที่สร้างขึ้นมา เพื่อรวบรวม ผลิต สื่อสาร บันทึก เรียบเรียงใหม่ และแสดงผลประโยชน์จากสารสนเทศ

กิลล์แมน (Gillman 1984 : 2535) ที่ให้คำจำกัดความคล้าย ๆ กับลูคัส จูเนียร์ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ครอบคลุมถึง การจัดหา การจัดเก็บ การประมวลผล การค้นคืน และการแสดงผล ของสารสนเทศ โดยเครื่องมือทางอิเลคทรอนิกส์

วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีในการนำ คอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียก ว่าสารสนเทศซึ่งมีความสำคัญมากใน สังคมปัจจุบัน และมีผลต่อสังคม ในอนาคต มากที่สุด โดยปัจจุบัน มีผู้กล่าวถึงเทคโนโลยีสาสนเทศ กันอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆว่าไอที (IT) เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีลักษณะเด่น คือมีการเปลี่ยนแปลง ที่รวดเร็วมาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกวัน
        สรุป "เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การส่งผ่าน การสื่อสารสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ การรับสารสนเทศ รวมถึงการสร้างสังคมและอุตสาหกรรมด้านสารสเทศ และการจัดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ



อ้างอิง
http://pirun.ku.ac.th/
http://web.yru.ac.th/
http://www.technicphotharam.com/

เทคโนโลยี หมายถึงอะไร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึงวิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม



สารานุกรมเอ็นคาร์ทา(Encarta1999) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า Technology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก2คำรวมกัน คือTekhneหมายถึงศิลปหรืองานช่างฝีมือ(art of craft)และlogiaหมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา(art of study)ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึงหมายถึงการศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ


พจนานุกรมเว็บสเทอร์ (Websters1994) ได้ให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยี ไว้ดังนี้1)ก.การใช้ทางวิทยาศาสร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพานิชกรรม ข.องค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้2)องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูนฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญเพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ


บราวน์(Brown) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์


เดล(Dale1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลองเครื่องมือ และกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลองและได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว


กัลเบรท(Galbraith1967) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้คือเทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติส่วนนักการศึกษาของไทยได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีดังนี้


ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539) ได้ให้รายละเอียดของคำว่าเทคโนโลยีหมายถึง
        1. องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์
        2. การประยุกต์วิทยาศาสตร์
        3. วัสดุ เครื่องยนต์กลไก เครื่องมือ
        4. กรรมวิธี และวิธีดำเนินงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์
        5. ศิลปะ และทักษะในการจำแนกและรวบรวมวัสดุ


เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต(2528) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีคือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผล


ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม


สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล


ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง


ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติจากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น


อ้างอิง   พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525
            สารานุกรมเอ็นคาร์ทา(Encarta1999)
            พจนานุกรมเว็บสเทอร์ (Websters1994
            http://www.tpa.or.th/
            http://knowledge.eduzones.com/

นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร

บุญเกื้อ  ควรหาเวช  (2551 : 5) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาไว้ว่า เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิดหรือ การกระทำรวมทั้งการประดิษฐ์ก็ตาม เข้ามาใช้ในระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

ดร.เปรื่อง  กุมุท (2518 : ไม่ระบุ) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
  1. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้นโดยเก่ามาจากที่อื่น แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้เป็นการเหมาะสมที่จะเอามาใช้กับการเรียนการสอนของเรา
  2. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น ทั้งที่ครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้แล้วแต่บังเอิญไม่เกิดผล เพราะสิ่งแวดล้อมไม่อำนวย พอมาถึงเวลานี้ระบบต่าง ๆ พร้อมจึงนำความคิดนั้นมาใช้ได้ นี่ก็เรียกว่านวัตกรรม
  3. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น เพราะมีสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาพร้อมกับความคิดที่จะทำอะไรบางอย่างอยู่พอดี และเห็นว่าใช้สิ่งเหล่านั้น หรือวิธีการนั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา นี่คือความหมายที่แท้จริงของนวัตกรรมทางการศึกษา
http://www.suphet.com   ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คองพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น


http://www.kroobannok.com   ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การปรับประยุกต์ ความคิดใหม่ วิธีการใหม่ รูปแบบใหม่ เทคนิคใหม่ แนวทางใหม่ ที่สร้างสรรค์วรหาเวชและพัฒนาทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิม หรือจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

http://www.krumalinee.com ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) เป็นความคิดและการกระทำใหม่ๆในระบบการศึกษา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อให้การทำงานในระบบการศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้นและบรรลุจุดมุ่งหมาย (นิพนธ์ ศุขปรีดี 2519:6) นวัตกรรมทางการศึกษาจึงน่าจะมีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทยและช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา เช่น แก้ปัญหาจำนวนนักเรียนแต่ละชั้นมากเกินไป วัสดุอุปกรณ์มีไม่เพียงพอ หรือแม้แต่ขาดแคลนผู้สอนบางสาขาวิชา เป็นต้น นอกจากนี้ในระบบการศึกษาไทยยังมีปัญหาด้านคุณภาพ เช่น ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่ได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิดและแก้ปัญหาด้วยตนเอง ไม่ได้พัฒนาให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าด้วยตนเอง หรือแม้แต่การจัดกระบวนการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับกระแสสังคมและรู้เท่าทันกระแสโลกในยุคโลกาภิวัตน์

http://www.kmutt.ac.th ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษาหมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ



อ้างอิง  http://www.suphet.com/
            http://www.kroobannok.com/
            http://www.krumalinee.com/
            http://www.kmutt.ac.th/

นวัตกรรม คืออะไร

ทอมัส ฮิวซ์ (2531: 3) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมไว้ว่า เป็นการนำวิธีใหม่ๆมาปฏิบัติหลังจากได้ผ่าน

การทดลอง หรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆแล้วโดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น การพัฒนาซึ่งอาจเป็นในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน แล้วจึงนำมาปฏิบัติจริงซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยมีมา


นอร์ตัน (2531 : 3) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม คือ การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การปรับปรุงเสริมแต่ง และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ


ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม คือ วิธีการใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจได้มาจากการคิดค้นพบวิธีใหม่ ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้ว่าได้ผลดี ในทางปฏิบัติทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น


จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมไว้ว่า แม้ในภาษาอังกฤษเองความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการทางวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึงสิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จ และแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ

(http://rittikorn.multiply.com) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม คือ การหยิบจับเทคโนโลยีต่าง ๆ มาก่อให้เกิดคุณค่า และมูลค่า เช่น การนำนาโนเทคโนโลยีไปใส่ในเสื้อทำให้แบคทีเรียไม่เกิดการเติบโต จะเห็นได้ว่า นวัตกรรม คือ การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่า


(http://wikipedia.org) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้น ได้ผลดีมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมทั้งยังช่วยประหยัดเวลา และแรงงานด้วย


ทรงพล เพียเพ็งต้น (http://team.sko.moph.go.th) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรมหมายถึงการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีใหม่ ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการหรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด

พรทิพย์ หาญชัย (http://gotoknow.org) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม ตรงกับคำว่า “ innovation ” ในภาษาอังกฤษ โดยในที่ภาษาอังกฤษ คำกิริยาว่า innovate นั้นมีรากศัพท์มาจากคำภาษาละตินว่า innovare ซึ่งแปลว่า “ to renew ” หรือทำขึ้นมาใหม่

Miles Matthew B. (http://www.opdc.go.th) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถี่ถ้วน การเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้นมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายของระบบบรรลุผล


กิดานันท์ มลิทอง (2550 : 39) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ฯ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

 
อ้างอิง  (http://www.opdc.go.th/)
            (http://gotoknow.org/)
            (http://team.sko.moph.go.th/)
            (http://wikipedia.org/)
            (http://rittikorn.multiply.com/)

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มีทฤษฏีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฏีเป็นอย่างไร

บลูม  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้แบ่งออกเป็น 6 ระดับ
  1. ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knoeledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
  2. ความเข้าใจ (comprehend)
  3. การประยุกต์ (application)
  4. การวิเคราะห์ (analysis) สามารถแก้ปัญหาตรวจสอบได้
  5. การสังงเคราะห์ (synthesis) สามารถนำส่วนต่าง ๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
  6. การประเมินค่า (evaluation) วัดได้และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิดประกอบกับการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
เมเยอร์  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็นย่อยๆ 3 ส่วนดวยกัน
  1. พฤติกรรมควรชี้ชัดและสังเกตได้
  2. เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
  3. มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
บรูนเนอร์   ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า
  1. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
  2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
  3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นจากแง่มุมต่าง ๆ
  4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
  5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
  6. เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
ไทเลอร์  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า
  • ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึงในทักษะต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรม และประสบการณ์บ่อย ๆ และต่อเนื่องกัน
  • การจัดช่วงลลำดับ (sequence) หมายถึงการจัดสิ่งที่มีความง่ายไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้ง
  • บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความรู้ ความคิดเห็น และได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมดของผู้เรียน ได้ใช้ประสบการณ์ในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์
โรเบิร์ต กาเย่  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า ทฤษฏีการเรียนรู้มี 8 ขั้นตอน คือ
  1. การจูงใจ (motivation phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
  2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ (apprehending phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับคามตั้งใจ
  3. การปรุงแต่งสิงที่รับรู้ไว้เป็นความจำ (acquisition phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้น และระยะยาว
  4. ความสามารถในการจำ (retention phase)
  5. ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (recall phase)
  6. การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (generalization phase)
  7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ (performance phase)
  8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (feedback phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็ว จะทำให้มีผลดีและมีประสิทธิภาพสูง
ฮัลล์  ได้กล่าวเกี่ยกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า กฏการเรียนรู้ในทัศนะของฮัลล์ ได้กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่สำคัญ คือการเสริมแรง หมายถึงลักษณะการใช้รางวัลให้เกิดการลดแรงขับ การเสริมแรงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างแรงขับกับการได้รับรางวัล แรงขับเป็นสภาพความเครียด อันเป็นผลจากความต้องการ ส่วนรางวัลเป็นความพอใจที่สามารถตอบสนองความต้องการในการลดแรงขับ

ธอร์นไดค์  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่างจนพบสิ่งที่ตอบสนองดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฏการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ
  1. กฏแห่งความพร้อม (law of readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้านักเรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  2. กฏแห่งการฝึกหัด (law of exercyse) การฝึกหัดหรือการกระทำบ่อย ๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อยๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงทนถาวรและในที่สุดก็อาจลืมได้
  3. กฏแห่งการใช้ (law of use and disuse) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่มโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ความมั่นคงของการเรียนรู้จะเกิดขึ้นหากได้มีการนำไปใช้บ่อยๆ หากไม่มีการนำไปใช้อาจมีการลืมเกิดขึ้น
  4. กฏแห่งผลที่พึงพอใจ (law of effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจจะไม่อยากเรียนรู้ต่อ ดังนั้น การได้รับผลที่พึงพอใจจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
อ้างอิง  (http://th.wikipedia.org)

            (http://chawalluk.muiliply.com)

ทฤษฏีการเรียนรู้เป็นอย่างไร

คิมเบิล และ การ์เมอซี่  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร โดยเป็นผลจากการฝึกฝนเมื่อได้รับการเสริมแรง มิใช่เป็นผลการตอบสนองตามธรรมชาติ ที่เรียกว่า ปฏิกิริยาสะท้อน

ฮิลการ์ดและเบาเวอร์  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า  การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเป็นผลมาจากการฝึกและประสบการณ์ แต่มิใช่ผลจากการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น สัญชาติญาณ หรือวุฒิภาวะ หรือจากการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวของร่างกาย

ครอนบัค  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละคนประสบมา

เพรชซี่  โรบินสัน และ เฮอร์ค ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีกาเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลได้พยายามปรับพฤติกรรมของตน เพื่อเข้ากับสภาพแวดล้อมตามสถานการณ์ต่างๆ จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมาย ตามที่แต่ละคนได้ตั้งเป้าหมายไว้

แกรี่ และคิงส์เลย์  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้มี 3 ประการ คือ
  1. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ เพราะมีวัตถุประสงค์หรือแรงจูงใจ
  2. การเรียนรู้เกิดจากการพยายามตอบสนองหลายรูปแบบเพื่อบรรลุเป้าหมาย
  3. การตอบสนองจะต้องทำเป็นนิสัย
เมดนิค  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า
  1. การเรียนรู้ทำให้เกิดพฤติกรรม
  2. การเรียนรู้เป็นผลจากากรฝึกฝน
  3. การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร จนเกิดเป็นนิสัย
  4. การเรียนรู้ได้จากการสังเกตได้โดยตรง แต่ทราบจากการกระทำที่เป็นผลจากการเรียนรู้

อ้างอิง  http://web.agri.cmu.ac.th/