วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มีทฤษฏีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฏีเป็นอย่างไร

บลูม  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้แบ่งออกเป็น 6 ระดับ
  1. ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knoeledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
  2. ความเข้าใจ (comprehend)
  3. การประยุกต์ (application)
  4. การวิเคราะห์ (analysis) สามารถแก้ปัญหาตรวจสอบได้
  5. การสังงเคราะห์ (synthesis) สามารถนำส่วนต่าง ๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
  6. การประเมินค่า (evaluation) วัดได้และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิดประกอบกับการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
เมเยอร์  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็นย่อยๆ 3 ส่วนดวยกัน
  1. พฤติกรรมควรชี้ชัดและสังเกตได้
  2. เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
  3. มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
บรูนเนอร์   ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า
  1. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
  2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
  3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นจากแง่มุมต่าง ๆ
  4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
  5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
  6. เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
ไทเลอร์  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า
  • ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึงในทักษะต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรม และประสบการณ์บ่อย ๆ และต่อเนื่องกัน
  • การจัดช่วงลลำดับ (sequence) หมายถึงการจัดสิ่งที่มีความง่ายไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้ง
  • บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความรู้ ความคิดเห็น และได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมดของผู้เรียน ได้ใช้ประสบการณ์ในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์
โรเบิร์ต กาเย่  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า ทฤษฏีการเรียนรู้มี 8 ขั้นตอน คือ
  1. การจูงใจ (motivation phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
  2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ (apprehending phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับคามตั้งใจ
  3. การปรุงแต่งสิงที่รับรู้ไว้เป็นความจำ (acquisition phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้น และระยะยาว
  4. ความสามารถในการจำ (retention phase)
  5. ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (recall phase)
  6. การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (generalization phase)
  7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ (performance phase)
  8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (feedback phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็ว จะทำให้มีผลดีและมีประสิทธิภาพสูง
ฮัลล์  ได้กล่าวเกี่ยกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า กฏการเรียนรู้ในทัศนะของฮัลล์ ได้กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่สำคัญ คือการเสริมแรง หมายถึงลักษณะการใช้รางวัลให้เกิดการลดแรงขับ การเสริมแรงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างแรงขับกับการได้รับรางวัล แรงขับเป็นสภาพความเครียด อันเป็นผลจากความต้องการ ส่วนรางวัลเป็นความพอใจที่สามารถตอบสนองความต้องการในการลดแรงขับ

ธอร์นไดค์  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่างจนพบสิ่งที่ตอบสนองดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฏการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ
  1. กฏแห่งความพร้อม (law of readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้านักเรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  2. กฏแห่งการฝึกหัด (law of exercyse) การฝึกหัดหรือการกระทำบ่อย ๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อยๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงทนถาวรและในที่สุดก็อาจลืมได้
  3. กฏแห่งการใช้ (law of use and disuse) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่มโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ความมั่นคงของการเรียนรู้จะเกิดขึ้นหากได้มีการนำไปใช้บ่อยๆ หากไม่มีการนำไปใช้อาจมีการลืมเกิดขึ้น
  4. กฏแห่งผลที่พึงพอใจ (law of effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจจะไม่อยากเรียนรู้ต่อ ดังนั้น การได้รับผลที่พึงพอใจจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
อ้างอิง  (http://th.wikipedia.org)

            (http://chawalluk.muiliply.com)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น