วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฏีการเรียนรู้เป็นอย่างไร

คิมเบิล และ การ์เมอซี่  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร โดยเป็นผลจากการฝึกฝนเมื่อได้รับการเสริมแรง มิใช่เป็นผลการตอบสนองตามธรรมชาติ ที่เรียกว่า ปฏิกิริยาสะท้อน

ฮิลการ์ดและเบาเวอร์  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า  การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเป็นผลมาจากการฝึกและประสบการณ์ แต่มิใช่ผลจากการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น สัญชาติญาณ หรือวุฒิภาวะ หรือจากการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวของร่างกาย

ครอนบัค  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละคนประสบมา

เพรชซี่  โรบินสัน และ เฮอร์ค ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีกาเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลได้พยายามปรับพฤติกรรมของตน เพื่อเข้ากับสภาพแวดล้อมตามสถานการณ์ต่างๆ จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมาย ตามที่แต่ละคนได้ตั้งเป้าหมายไว้

แกรี่ และคิงส์เลย์  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้มี 3 ประการ คือ
  1. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ เพราะมีวัตถุประสงค์หรือแรงจูงใจ
  2. การเรียนรู้เกิดจากการพยายามตอบสนองหลายรูปแบบเพื่อบรรลุเป้าหมาย
  3. การตอบสนองจะต้องทำเป็นนิสัย
เมดนิค  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ไว้ว่า
  1. การเรียนรู้ทำให้เกิดพฤติกรรม
  2. การเรียนรู้เป็นผลจากากรฝึกฝน
  3. การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร จนเกิดเป็นนิสัย
  4. การเรียนรู้ได้จากการสังเกตได้โดยตรง แต่ทราบจากการกระทำที่เป็นผลจากการเรียนรู้

อ้างอิง  http://web.agri.cmu.ac.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น